เกี่ยวกับสมาคม

ชมรมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NNA) จะเป็นเวทีที่ผู้สนใจทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งด้าน basic และ clinical neuroscience สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านวิชาการ และจะเป็นองค์กรทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ และวิชาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ในระดับภาค และในระดับประเทศรวมถึงนานาชาติ ใน

ชมรมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( North-Eastern Neuroscience Association, NNA) เป็นองค์กรทางวิชาการโดยเริ่มแรกเกิดจากการรวมกลุ่มระหว่าง
หน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ , หน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ และหน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ เพื่อจัดประชุมวิชาการ โดยใช้ชื่อว่า neurological conference เริ่มประชุมวิชาการครั้งที่ 1 ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 มีกิจกรรมทางวิชาการประกอบด้วย case discussion และการบรรยายพิเศษ

ปีพ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อเป็น neurosciences conference ได้เปิดกว้างขึ้นสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ในภาควิชาต่างๆ จากคณะแพทยศาสตร์ , โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น , โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และโรงพยาบาลค่ายศรีพัชรินทร์.

ปี พ.ศ. 2535 ได้มีแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจจากจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาการของกลุ่มมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งกลุ่มโดยใช้ชื่อ North-Eastern Neurosciences Group โดยใช้ชื่อภาษาไทย ชมรมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการชมรมมีมติให้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของชมรมเป็น North-Eastern Neuroscience Association และได้กำหนดข้อบังคับของชมรม เพื่อให้เป็นองค์กรทางวิชาการที่ชัดเจนมากขึ้น และได้ดำเนินกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่องและ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในสาขาดังกล่าวให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มแพทย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการชมรมได้มีมติให้เสนอจดทะเบียนเป็นสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North-Eastern Neuroscience Association) มีการปรับปรุงจุลสารทางวิชาการของชมรมเป็นวารสารทางวิชาการโดยให้ชื่อว่า วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( North-Eastern Thai Journal of Neuroscience) กำหนด 2 เล่มต่อปี ในช่วงปีแรก และ กำหนดจัดพิมพ์ทุกๆ 3 เดือน ในปีต่อๆไป

ปี พ.ศ. 2549 วารสารฉบับแรกของสมาคมได้จัดพิมพ์ขึ้นและเผยแพร่แก่สมาชิกและผู้สนใจ และปัจจุบันวารสารได้รับความสนใจจากสมาชิกและผู้สนใจจำนวนมาก

วัตถุประสงค์
  1. ส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในประเทศไทย ตลอดจนการศึกษาการวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ให้ก้าวหน้าไปตามหลักวิชาการ
  2. เผยแพร่ความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์แก่ประชาชน
  3. ร่วมมือโดยใกล้ชิดกับชมรมและสมาคมทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆในประเทศไทย
  4. ให้การอบรมศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์.นักศึกษาสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์
  5. ร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ
อนาคตและทิศทางชมรมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NNA) จะเป็นเวทีที่ผู้สนใจทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งด้าน basic และ clinical neuroscience สามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านวิชาการ และจะเป็นองค์กรทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็ง ดำเนินกิจกรรมทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ และวิชาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ ในระดับภาค และในระดับประเทศรวมถึงนานาชาติ ในอนาคตnna

Comments are closed.